วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มะยม




ชื่อท้องถิ่น

     ทั่วไป เรียก มะยม
     ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
     ภาคใต้ เรียก ยม

ลักษณะทั่วไป
มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 310 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณ ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบ สลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 2030 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่อ อ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
การปลูก
มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางยา
 ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง
 ดับพิษเสมหะ
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
 ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
 ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
  ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
 คติความเชื่อ
ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกัน ความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้ คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม




วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เมาส์ล่องหน

เมาส์ล่องหนที่ไม่มีตัวตนให้คุณได้เห็น จะทำงานโดยอาศํยลำแสงเลเซอร์ IR ที่มองไม่เห็น และถูกยิงเป็นเส้นระนาบตัดกันบนพื้นโต๊ะ ซึ่งระนาบแสงที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจะกำหนดให้แสงที่ตกกระทบนิ้วของผู้ใช้ เปรียบเสมือนจุดสัมผัสกับพื้นผิวโต๊ะ และใช้กล้องจับแสง IR ติดตามความเคลื่อนไหวของจุดสัมผัสดังกล่าว เมื่อคุณเลื่อนนิ้ว จุดสัมผัสที่กล้องตรวจจับมองเห็นก็จะส่งค่าตำแหน่งใหม่ไปให้กับพอยน์เตอร์บน เดสก์ทอปวินโดวส์ และเมื่อคุณยกนิ้วขึ้นลง เพื่อแสดงการคลิกปุ่มเมาส์ กล้องก็จะสามารถตรวจจับแอคชั่นดังกล่าว เพื่อส่งต่อคำสั่งไปให้กับวินโดวส์ได้เช่นเดียวกัน สำหรับอุปกรณ์ Mouseless จะติดตั้งเข้ากับคอมพิวเตอร์ดังรูป ลองดูการทำงานอันน่าทึ่งของมันจากคลิ ปข้างล่างนี้ก็แล้วกันนะครับ รับรองว่า คุณต้องชอบแน่ โดยเฉพาะการนำการ์ตูนมาใช้ประกอบการนำเสนอ ไม่บอกดีกว่าว่า เรื่องอะไร แต่เกี่ยวกับ Moueless แน่ๆ

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ควบคุมคอมระยะไกล


www.buzzidea.tv
ผมเชื่อว่าเดี๋ยวนี้พวกเราหลายคนใช้ชีวิตกับ คอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องในแต่ละวันครับ มีพีซีตั้งโต๊ะที่บ้าน โน้ตบุ๊กก็พกเอาไว้เวลาเดินทาง ยังไม่รวมคอมพิวเตอร์ที่บริษัทอีก ไม่แปลกที่บางทีเราจะลืมโน่นลืมนี่ไว้บนคอมพิวเตอร์บางเครื่องแบบไม่ตั้งใจ .. และโปรแกรมตัวนึงที่ผมใช้บ่อยๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ก็คือ TeamViewer ครับ

TeamViewer เป็นโปรแกรมประเภท Remote Access ที่ช่วยให้เราเรียกใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้จากที่ไหนก็ได้ผ่าน อินเทอร์เน็ตครับ วันไหนรีบๆ กลัวลืมก๊อปปี้ไฟล์งานสำคัญ ผมก็จะเปิดคอมพิวเตอร์ที่บ้านทิ้งไว้ พร้อมกับเปิด TeamViewer เท่านี้ก็เราสามารถเรียกเข้าไปดูคอมพิวเตอร์ที่บ้านจากที่ไหนก็ได้แล้ว

ส่วนวิธีใช้งานง่ายมากๆ ครับ แค่ติดตั้งโปรแกรม TeamViewer (ดาวน์โหลดจาก www.teamviewer.com) เอาไว้บนคอมพิวเตอร์ที่เราต้องการเปิดเข้ามาดูในภายหลัง ซึ่งก็จะมี ID และ Password ขึ้นมาทันทีที่คอมพิวเตอร์ของเราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จากนั้นเราก็จด ID และ Password อันนี้พกติดตัวเอาไว้ครับ เวลาอยู่ข้างนอก ก็แค่เปิด TeamViewer จากโน้ตบุ๊กของเรา กรอก ID ให้เรียบร้อย แล้วเลือก Connect to partner แล้วก็ใส่รหัสผ่าน แค่นี้ก็ทำให้เราเข้าไปควบคุมคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้แล้วครับ

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Waka Waka (This Time for Africa) (The Official 2010 FIFA ...



เนื้อเพลง Waka Waka (Time For Africa)


You’re a good soldier
Choosing your battles
Pick yourself up
And dust yourself off
Get back in the saddle
You’re on the front line
Everyone’s watching
You know it’s serious
We’re getting closer
This isn’t over



The pressure’s on; you feel it
But you got it all; believe it
When you fall, get up, oh oh
And if you fall, get up, eh eh
Tsamina mina zangalewa
Cause this is Africa
Tsamina mina eh eh
Waka waka eh eh
Tsamina mina zangalewa
This time for Africa



Listen to your god; this is our motto
Your time to shine



Don’t wait in line
Y vamos por todo
People are raising their expectations
Go on and feel it
This is your moment
No hesitation



Today’s your day
I feel it
You paved the way,
Believe it
If you get down
Get up oh, oh


When you get down,
Get up eh, eh

Tsamina mina zangalewa
This time for Africa
Tsamina mina eh eh
Waka waka eh eh


Tsamina mina zangalewa
Anawa aa
Tsamina mina eh eh
Waka waka eh eh
Tsamina mina zangalewa
This time for Africa

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไม้ทรงบาดาล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassis Surattensis Burm. f.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่อสามัญ Kalamona, Scrambled Eggs

 ชื่ออื่น ขี้เหล็กหวาน
     ไม้พุ่ม สูง 3 - 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 - 6 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 1 - 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 20 เซนติเมตร

     นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและจาไมก้า ออกดอก ตลอดปี ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดมาแช่น้ำร้อน 80 - 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น 16 ชั่วโมง

     วิธีปลูก เพาะเมล็ด เช่นเดียวกับราชพฤกษ์

  ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
        คติความเชื่อ ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง

   ชมพู่แต่ละต้นมีผลลูก   ดูดั่งผูกพวงระย้านึกน่าฉัน
    ทรงบาดาลบานดอกรีบออกทัน   เต็มทุกวันเช้าเย็นไม่เว้นวาย

                               รำพันพิลาป - สุนทรภู่

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สารภี


สารภี
ชื่อพื้นเมือง  สารภี (ไทยภาคกลาง) สร้อยพี (ภาคใต้) สารภีแนน (เหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mammea siamensis Kosterm

วงศ์  GUTTIFERAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สารภีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกสีเทาปนดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดต้น เปลือกในสีน้ำตาลแดง มียางขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง
1. ใบ เป็นรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน เนื้อใบหนา โคนใบสอบเรียว ปลายมนกว้างๆ บางทีอาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ เส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน ใบมียางขาว
2. ดอก สีขาว ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกตามกิ่ง กลิ่นหอมมาก กลีบรองดอกมี 2 กลีบ กลีบมนเป็นกระพุ้ง โคนกลีบเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีลักษณะเดียวกัน แต่มี 4 กลีบ
3. ผล เป็นรูปกระสวย ยาวประมาณ 2.5 ซม. เมื่อสุกมีสีแดง

การปลูก
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก เกสร
ช่วงเวลาที่เก็บยา ดอกออกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
รสและสรรพคุณในตำราไทย
1. ดอก รสขมหอมเย็น แก้โลหิตพิการ แก้ไข้มีพิษร้อน เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ชูกำลัง
2. เกสร รสหอมเย็น บำรุงครรภ์รักษา ทำให้ชื่นใจ แก้ไข้
ขนาดและวิธีใช้
ในตำรายาไทยว่าดอกเข้ากับเกสรทั้ง 5 ทำยาหอมบำรุงหัวใจ แก้โลหิตพิการที่ทำให้ตัวบวม

สารสำคัญ
ดอกสารภีมีสาร flavonoid ชื่อ vitexin และสารประกอบอื่นๆ เช่น sitosterol, stigmasterol, campesterol และสารจำพวก 4-phenyl coumarins อีก 2 ชนิด

ประโยชน์ทางอาหาร
ผลสารภี มีรสหวานรับประทานได้ แต่ถ้ายางถูกลมจะมีรสขมเวลารับประทานต้องบีบลูกสองมือปลิ้นเข้าปากเลย ไม่ให้ถูกลมจึงจะมีรสหวาน


ประโยชน์อื่น
เนื้อไม้สารภีใช้ทำปืน ฝา รอด ตง เสา กระดานฯ ลฯ ดอกตูมใช้ย้อมผ้าไหมให้เป็น สีแดง


คติความเชื่อ


ตามตำราพรหมชาติจัดสารภีเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้านโดยกำหนดทิศที่ปลูกว่า ควรเป็นทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) เพื่อป้องกันเสนียดจัญไร

























































ชัยพฤกษ์


ชัยพฤกษ์ เป็นไม้มงคล ตามชื่อ หมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ ใบใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่ แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณ สำหรับของไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ และประดับประกอบดาวบนอินทรธนูและหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย
เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยงใช้ทำยาได้ (จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)
เป็นชื่อลายชนิดหนึ่ง (จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)
ตำนานชัยพฤกษ์ปรากฏในเทพปกรณัมของกรีก มีอยู่ว่า มีนางอัปสรนางหนึ่งชื่อ ดาฟเน่ (daphne) เป็นลูกสาวของเทพประจำแม่น้ำสายหนึ่งชื่อพีนีอูส
วันหนึ่งดาฟเน่ออกไปเที่ยวเล่นริมป่าไม่ไกลจากแม่น้ำ เธอได้พบกับเทพอพอลโลหรือสุริยเทพเข้าโดยบังเอิญ เทพอพอลโลหลงรักเธอโดยทันที และพยายามฝากรักด้วยคำที่นุ่มนวล แต่ความพยายามนั้นไร้ผล เมื่ออพอลโลสืบเท้ายังไม่ทันเข้าใกล้ เธอก็วิ่งไม่คิดชีวิต เค้ายิ่งวิ่งตามเธอก็ยิ่งวิ่งหนี และวิ่งหน้าสู่แม่น้ำ โดยตระหนักว่าตัวเธอเองเริ่มอ่อนแรง และเค้าที่เป็นคนแปลกหน้าใกล้ถึงตัวแล้ว พอดีถึงริมฝั่งน้ำจึงร้องขอให้พ่อของเธอช่วย สิ้นคำร้องขอ ร่างของเธอค่อยกลายเป็นต้นไม้โดยเท้าทั้งคู่เปลี่ยนเป็นราก แขนทั้งสองข้างและผมพลิ้วสยายกลายเป็นกิ่งก้านใบ เสื้อผ้าเปลี่ยนเป็นเปลือกห่อหุ้มลำต้นที่ยังสั่นไหวด้วยความกลัว ดาฟเน่ได้กลายเป็นต้นชัยพฤกษ์ไปแล้วด้วยความช่วยเหลือของบิดา
อพอลโลมาถึงก็ทราบทันทีว่าเธอได้จากไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองเธอแต่อย่างใด จึงมีบัญชาให้ไม้ชัยพฤกษ์เป็นไม้ที่พึงใจส่วนพระองค์ และใครๆ สามารถเก็บช่อใบร้อยเป็นพวงสวมศีรษะเป็นเกียรติยศแก่กวีและนักดนตรีได้ตลอดไป

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ราชพฤกษ์


ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษ: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก
ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ
การดูแลรักษา  ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรคไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
ศัตรูหนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars) จะมีอาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ
การป้องกันรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้[1] ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ดอก แก้แผลเรื้อรัง

คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นและยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วย
คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม









วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พยุง



ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis   Pierre

วงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ชื่อสามัญ Siamese Rosewood

ชื่ออื่น ๆ ขะยุง แดงจีน ประดู่เสน พะยุง

ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ
เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่

ใบ   ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงสลับบนแกนกลาง
จำนวน 7 - 9 ใบ ขนาดกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร  ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง
               
ดอก   ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง

ผล   เป็นฝักรูปขอบขนานแบน บาง ขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร
ยาว 4 - 6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด

นิเวศวิทยา   ขึ้นในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้น ทั่ว ๆ ไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ออกดอก   พฤษภาคม - กรกฎาคม ฝักแก่ กรกฎาคม - กันยายน

ขยายพันธุ์   โดยนำเมล็ดแช่ในน้ำเย็น 24 ชั่วโมง  แล้วเพาะในกะบะเพาะ  โดยหว่านให้กระจายทั้งกะบะเพาะแล้วโรยทรายกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน เมื่อกล้าไม้อายุ 10-14 วัน ความสูงประมาณ 1 นิ้ว มีใบเลี้ยง 1 คู่ สามารถย้ายชำในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ได้

ประโยชน์ เนื้อไม้สีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก เนื้อละเอียด แข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด

ดอกรัก



ดอกรัก

ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง
1.5 - 3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม
ตามกิ่งมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน
ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง 6 – 8 ซ.ม. ยาว 10 – 14 ซ.ม.
เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อ
ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน
เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 3 ซม. มีลักษณะคล้ายมงกุฎ 5 สัน เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 6 – 8 ซม.เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาล จำนวนมากมีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง

ถิ่นกำเนิด เอเซียกลาง อินเดีย

ออกดอก ตลอดปี

ขยายพันธุ์ เมล็ด, ปักชำกิ่ง

ประโยชน์ เปลือกราก รักษาบิด ทำให้อาเจียน ขับเหงื่อ
ยางมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ้าถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง
ดอกทำดอกไม้ประดิษฐ์


วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไผ่สีสุก


ชื่อพื้นเมือง ไผ่สีสุก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa blumeana Schult.
วงศ์ GRAMINEAE
เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ความยาวลำต้นสูง 10 - 18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 - 12 เซนติเมตร แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 อัน อันกลางยาวกว่าเพื่อน ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5 - 6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8 - 2 เซนติเมตร ยาว 10 - 20 เซนติเมตร ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5 - 9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก คลีบใบเล็กมีขน
นิเวศวิทยา เชื่อกันว่าเป็นไม้ดั้งเดิมในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก หรือหมู่เกาะแปซิฟิคตอนใต้ ในประเทศไทย มักจะขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มริมห้วย แม่น้ำ และมักปลูกรอบ ๆ บ้านในชนบท
ขยายพันธุ์ ปักชำ ใช้ท่อนไม้ไผ่มาตัดทอนเป็นท่อน ๆ ให้ติดปล้อง 1 ปล้อง (ข้อตา) นำมาปักไว้ในวัสดุชำ เอียงประมาณ 45 องศา เรียงเป็นแถวเป็นแนวเดียวกันเพื่อสะดวกในการดูแลรักษา เติมน้ำลงในกระบอกไม้ไผ่ให้เต็ม ประมาณ 4 สัปดาห์ หน่อจะแตกออกจากตาไม้ไผ่ และรากจะงอกออกจากปุ่มใต้ตา หรือถ้าตัดทอนท่อนไม้ไผ่ให้ตัดข้อตา 2 ข้อ แล้วเจาะตรงกลางระหว่างข้อตา สำหรับเติมน้ำลงไปในปล้อง นำไปวางนอนในวัสดุชำแนวราบก็ได้เช่นกัน
ประโยชน์ สมัยก่อนมักปลูกไว้รอบบ้านเป็นรั้วกันขโมย กันลม หน่อเมื่ออยู่ใต้ดินทำอาหารได้มีรสดี เมื่อโผล่พ้นดินประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร มักเอาไปทำหน่อไม้ดอง จะให้รสเปรี้ยว สีขาว และเก็บได้นาน โดยไม่เปื่อยเหมือนหน่อไม้ชนิดอื่น เนื้อไม้หนาแข็งแรง ใช้สร้างบ้านในชนบทได้ทนทาน ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้ในการประมง ใช้ในการทำนั่งร้านก่อสร้าง ส่วนโคนนิยมใช้ทำไม้คานหาบหามและใช้ทำกระดาษให้เนื้อเยื่อสู
คติความเชื่อ
คนโบราณนิยมปลูกไผ่สีสุกไว้ทางทิศตะวันออก (บูรพา) ถือกันเป็นเคล็ดจากชื่อที่เรียกขานเอาว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนผู้เป็นเจ้าของและครอบครัวคือ สีสุกเป็นมงคลนามเพื่อให้เกิดความสุข ความเจริญ อยู่เย็นเป็นสุข สุขภายสบายใจในทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเอง
ไผ่สีสุกนอกจากจะเป็นต้นไม้ตามทิศแล้วยังเป็นหนึ่งในไม้มงคลจำนวน 9 ชนิดที่จะต้องหาไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลในการก่อสร้างอาคาร ประดิษฐาน ถาวรวัตถุและใช้ในพิธีก่อฤกษ์ หรือวางศิลาฤกษ์ ซึ่งมักเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อชาติและบ้านเมือง เช่น โบสถ์ วิหาร กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ
แม้ไผ่สีสุกจะเป็นไม้มงคล แต่ในบางท้องถิ่นเชื่อว่าการปลูกไผ่จะต้องให้คนแก่หรือผู้สูงอายุถึงจะดี คนหนุ่มสาวห้ามปลูกเพราะถือว่าลำต้นไผ่ใช้เป็นคานสำหรับหามโลงใส่ผีไปเผาหรือฝังลงป่าช้า เขาถือว่าหากคนอ่อนอายุปลูกอายุจะสั้นด้วยพอไม้ไผ่โตได้ขนาดจะเป็นเหตุให้คนปลูกตาย และไม้ไผ่นั้นจะถูกตัดมาเป็นไม้หามโลงของคนปลูกพอดี ส่วนคนแก่ปลูก พอไผ่โตได้ขนาดก็อาจจะหมดอายุเองเสียก่อนจึงไม่ให้โทษ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันอีกว่า เมื่อไผ่ออกดอกจะเป็นลางร้ายเพราะธรรมชาติของไผ่ไม่ค่อยมีใครเห็นดอกของมันเมื่อมีดอก เมื่อดอกแห้งแล้วต้นจะตายเรียกว่า ไผ่ตายขุยจึงถือว่าไผ่ออกดอกที่บ้านใครมักจะเกิดผลร้ายกับครอบครัวนั้น ต้องทำบุญบ้านเพื่อถอนโชคร้ายเสีย ปัจจุบันในชนบทยังถือกันอยู่
ไผ่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ เกียรติยศ และความเสียสละแรงบันดาลใจของศิลปินคงไม่มีไม้ใดที่ได้รับใช้มนุษย์มากมายเท่าไผ่ ไผ่มีความแข็งพอที่จะเป็นเสาบ้านได้ ขณะเดียวกันก็มีความอ่อนพอที่จะดัด สาน มัด ให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจมนุษย์

ขนุน


ขนุนเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทย สภาพของดินที่ใช้ปลูกที่เหมาะสมควรมี PH อยู่ระหว่าง 5.5-7.5 ดินควรเป็นดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี อายุการให้ผลจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุประมาณ 4 ปี สามารถให้ผลต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 25 ปี อายุตั้งแต่เริ่มออกดอกถึงดอกบาน 20-25 วัน หลังดอกบานผลจะแก่เมื่ออายุ 120-150 วัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นเมื่ออายุประมาณ 10 ปี อยู่ระหว่าง 25-30 ผล น้ำหนักต่อผลมีตั้งแต่ 5-50 กิโลกรัม ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าเป็นขนุนในฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม และถ้าเป็นขนุนนอกฤดูจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
วงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Jackfruit Tree
ชื่ออื่น ๆ มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ
ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง
ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
นิเวศวิทยา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง
ประโยชน์ ผลอ่อนใช้ปรุงอาหารผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่นให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ยอ (Indian Mulberry)


ยอ (Indian Mulberry)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrfolia Linn.
ชื่อวงศ์ Rubiaceae
ชื่อท้องถิ่น
ภาคกลาง เรียก ยอบ้าน
ภาคเหนือ เรียก มะตาเสือ
ภาคอีสาน เรียก ยอ
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก แยใหญ่
ลักษณะทั่วไป
ต้นยอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอกเล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุน
การปลูก
ปลูกโดยการใช้เมล็ดขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินชุ่มชื้น วิธีปลูกจะปลูกลงหลุมเลย หรือเพาะกล้าก่อนแล้วค่อยนำไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้ก็ได้ ควรกำจัดวัชพืชบ้าง
สรรพคุณทางยา
ผลดิบ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียนอาเจียน ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน
ราก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก
ใบ รสขมเผื่อน บำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้โรคเกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ก แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง แก้กระษัย หรือผสมยาอื่นแก้วัณโรค
คุณค่าทางโภชนาการ
ใบยอและลูกยอใช้เป็นผักได้ นิยมใช้รองกระทงห่อหมก ภาคใต้นิยมใช้ใบยออ่อนๆ ซอยเป็นฝอยแกงเผ็ดกับปลา ใส่ขมิ้น ในใบยอมีสารอาหาร ทั้งแคลเซียมมาก มีเกลือแร่ วิตามิน รวมทั้งกากและเส้นใยอาหาร
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ผลยอมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose แต่ไม่มีรายงานด้านเภสัชวิทยาและด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
คติความเชื่อ
คนโบราณนิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) เชื่อว่าป้องกันสิ่งเลวร้าย อีกทั้งชื่อยอยังเป็นมงคลนาม ถือเป็นเคล็ดลับกันว่า จะได้รับการสรรเสริญเยินยอ หรือยกย่องในสิ่งที่ดีงาม

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553